สรุปความรู้เรื่อง กาพย์เห่เรือ








สรุปความรู้ เรื่อง กาพย์เห่เรือ

          บทเห่เรือที่เก่าแก่และได้รับความนิยมจนถือเป็นแบบแผนในการประพันธ์บทเห่เรืออื่นๆ จนถึงปัจจุบัน คือ "กาพย์เห่เรือ" บทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือพระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2248 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบนมโกศ ประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต









เจ้าฟ้ากุ้งมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม ทรงพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง เช่น กาพย์เห่เรือ นะนโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์ห่อโคลงนิราศธราโศก กาพย์เห่เรือเรื่องกากี เป็นต้น






กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง มีจุดประสงค์ คือ ใช้สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อตามเสด็จทางชลมารค (เดินทางทางน้ำ) ไปยังพระพุทธบาท จ.สระบุรี นอกจากนั้นการเห่เรือยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายอีกด้วย


ลักษณะคำประพันธ์ของกาพย์เห่เรื่อนั้น เรียกว่า "กาพย์ห่อโคลง" คือ โคลงสี่สุภาพขึ้นต้น 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 11 1 บท ที่มีความหมายเหมือนโคลงห่อบท และตามด้วยกาพย์ยานี 11 จนกว่าจะจบกระบวนความ





ทำนองหรือลำนำที่ใช้ในการเห่เรือ


          ทำนองหรือลำนำที่ใช้ในการเห่เรือ เป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายให้พายตามจังหวะทำนองการร้อง เพื่อความสวยงามและความพร้อมเพรียง ทำยองที่ใช้ในการเห่เรือปัจจุบันมี 3 ทำนอง คือ ช้าละวะเห่ มูลเห่ และสวะเห่


ก่อนการเริ่มต้นเห่เรือหริอตามทำนองดังกล่าว เมื่อเรือพระที่นั่งทรงเริ่มออกจากท่ามาเข้ากระบวน พนักงานต้นเสียงเห่เรือก็จพขึ้นต้นเกริ่นเห่ เป็นทำนองตามเนื้อความในโคลงสี่สุภาพก่อน จึงมักเรียกว่า "เกริ่นโคลง" ซึ่งเป็นการให้สัญญาณเตือนฝีพายให้เตรียมพร้อม เพื่อจะเคลื่อนกระบวนและดำเนินทำนองต่อไปนี้

1.ช้าละวะเห่ มาจาก ช้าแลว่าเห่ เป็ฯทำนองที่ใช้เริ่มต้นการเห่ ถือเป็นการให้สัญญาณเริ่มต้นเคลื่อนเรือในกระบวนทุกลำออกจากท่าไปพร้อมกันอย่างช้าๆ และใช้ทำนองนี้เมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
2.มูลเห่ หรือใช้แห่เรือเล่น เรียกว่า เห่เร็ว เป็นการเห่ในจังหวะกระชั้นกระชับ ฝีพายจะเร่งพายให้เร็วกว่าเดิมตามจังหวะกระทุ้งเส้า และใช้ทำนองนี้ขณะพายเรือทวนน้ำ
3.สวะเห่ เป็นการเห่เมื่อใกล้จะถึงที่หมายหรือเรือใกล้จะเทียบท่า






เนื้อหาของกาพย์เห่เรือ ประกอบด้วยบทเห่ 4 ตอน

          ตามช่วงเวล่ใน 1 วัน ได้แก่
- ตอนเช้า เห่ชมเรือกระบวน
- ตอนสาย เห่ชมปลา
- ตอนบ่าย เห่ชมไม้
- ตอนเย็น เห่ชมนก
- ตอนค่ำ คร่ำครวญ พรรณนาถึงนางอันเป้นที่รัก





กาพย์เห่เรือมีลักษณะเหมือนกับการแต่งนิราศ  ที่มีการพรรณนาธรรมขาติระหว่างการเดินทางและมีการกล่าวถึงนางอันเป็นที่รัก ยกเว้น เห่ชมกระบวนเรือ ที่ไม่มีบทรำพันนิราศ
จากเรีื่องกาพย์เห่เรือ แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตของคนสมัยก่อนที่ใช้การสัญจรทางน้ำอย่างเป็นปกติ และการเดินทางที่ใช้เวลานานโดยไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ทำให้มีเวลาในการชื่นชมธรรมชาติและมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์หรือเพลงที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน





ความคิดเห็น