ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ












ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ ส่วน คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
5.อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ (Peripheral Equipment)
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) => Hardware ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ได้แก่
๐ Keyboard
๐ Mouse => แบบใช้แสง แบบไร้สาย
๐ OCR (Optical Character Reader)
๐ OMR (Optical Mark Reader)
๐ เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
๐ สแกนเนอร์ (Scanner)
*แบบเลื่อนกระดาษ
*แบบแท่นนอน
*แบบมือถือ
๐ ปากกาแสง (Light pen)
๐ จอยสติก (Joy Sticks)
๐ จอสัมผัส (Touch Screen)
๐ เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
๐ แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
๐ กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
๐ อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)

หน่วยความจำ (Memory Unit) => เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด
๐ หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
*รอม (Read Only Memory : ROM)
*แรม (Random Access Memory : RAM)
๐ หน่วยความจำสำรอง (Second Memory)
*ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
*ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
*ซีดี (Compact Disk : CD)
รีมูฟเวเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) => เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน
ซิปไดร์ฟ (Zip Drive) => เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 MB
^ Magnetic Optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5” ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อปดิสก์
เทปแบล็คอัพ (Tape Backup) => ขนาดความจุประมาณ 10-100 GB
การ์ดเมมโมรี (Memory Card) => มีขนาดเล็กพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
๐ หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) => ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
๐ หน่วยควบคุม (Control Unit) => ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวล ผลรวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลและหน่วยความจำสำรองด้วย
หน่วยแสดงผล (Output Unit) => ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เมื่อ CPU ทำการประมวลผล
๐ จอภาพ (Monitor) => CRT , LCD
๐ เครื่องพิมพ์ (Printer)
๐ ลำโพง (Speaker)
อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
๐ โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอก
๐ แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (LAN card) ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้
ความจำเป็นในการใช้งาน
วัตถุประสงค์ในการใช้งาน
-งบประมาณ
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ควรพิจารณา
-หน่วยประมวลผลกลาง-แผงวงจรหลัก
แรม
ฮาร์ดดิสก์
การ์ดแสดงผล
จอภาพ
ซีดีรอมไดร์ฟ
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง
การ์ดเสียง

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายเครื่องพิมพ์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
โน๊ตบุ๊ค เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปทำงานนอกอาคารสถานที่
เดสก์โน๊ต เหมาะกับผู้ใช้งานที่มีการเคลื่อนย้ายสถานที่ภายในอาคารเดียวกันหรือสถานที่ที่มีปลั๊กไฟพร้อมใช้งานตลอดเวลา
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ควรพิจารณา
จอภาพ
แบตเตอรี่
หน่วยความจำ
ฮาร์ดดิสก์
ระบบมัลติมีเดีย
โมเด็ม
เน็ตเวิร์

Software
ซอฟต์แวร์ =โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ประเภทของซอฟต์แวร์ มี ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ =โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
หน้าที่หลักๆ ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ มีดังนี้
๐ การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
๐ การจัดตารางงาน (Scheduling)
๐ การติดตามผลของระบบ (Monitoring)
๐ การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming)
๐ การจัดแบ่งเวลา (Time Sharing)
๐ การประมวลผลหลายชุดคำสั่งพร้อมกัน (Multiprocessing)
โปรแกรมภาษา (Language Software) แบ่งออกเป็น แบบ คือ
๐ ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีโครงสร้างและพื้นฐานเป็นเลขฐานสอง และตัวสติง(Strings) ซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ในทันที
๐ ภาษาใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Language) จะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากคือ ประกอบด้วย 2 ส่วน Op-Code และ Operands
๐ ภาษาระดับสูง (High-Level Language) ประกอบด้วยความเจริญทางด้านซอฟต์แวร์มีมากขึ้น
โปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ให้บริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูลตามหลักใดหลักหนึ่ง (Sort) เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ =โปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างมี ประเภท คือ

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป =โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้งานในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น งานการพิมพ์ งานวาดภาพ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน =เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี เป็นต้น
 
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับ/ส่ง ข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่ รับ/ส่ง อาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) , ตัวอักษร (Text) , ภาพ (Image) และเสียง (Voice)





ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
ทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและสามารถตอบสนองความต้องการการใช้ เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ก่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการระยะยาวขึ้น
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ด้านความเป็นอยู่สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาด้านต่างๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
จากงานวิจัยของ Whittaker พบว่าปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีสาเหตุหลัก ประการ ได้แก่
1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่พบ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule Overruns) และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1.ความกลัวการเปลี่ยนแปลง
2.การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึงทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ









ที่มา : https://sites.google.com/site/kordeeyahmaleeyan/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-khxmphiwtexr-laea-rabb-sarsnthes-1

ความคิดเห็น